การศึกษาทางเลือกมีหลายรูปแบบ การศึกษาที่ครอบครัวจัดการเรียนรู้เอง ที่เรียกว่า Home school เริ่มกันมาแบบต้องอาศัยความกล้าหาญแน่วแน่ในเส้นทางชีวิตของพ่อแม่(และลูก)ที่จะเป็นครูสอนลูก ในขณะเดียวกันกฏหมายก็ยังไม่รับรองสิทธิ์
ครอบครัวใช้วิธีลงทะเบียนไว้กับโครงการโฮมสคูล ยุคแรกลงทะเบียนกับโรงเรียนหมู่บ้านเด็กของมูลนิธิเด็ก ผ้เเรียนมีฐานะเป็นนักเรียนมีสังกัด อีกทั้งต้องกล้าหาญเผชิญหน้ากับ การตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาและรักษามาตรฐานการศึกษากระแสหลัก ซึ่งหลายคนหลายฝ่ายไม่คุ้นเคยกับแนวคิดการศึกษาแบบใหม่ๆ
ยุคแรกๆที่พ่อแม่เริ่มลุกขึ้นจัดการศึกษาให้ลูก อาจจะเรียกว่ายุคต้นๆ คือครอบครัวคุณยุทธชัย-อุทัยวรรณ เฉลิมชัย จัดการศึกษาให้ลูกชาย สายป่าน กับ สานต่อ (ป่านกับฟาง)
หลายครอบครัวที่จัดการศึกษาแบบบ้านเรียนได้เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการศึกษาให้บุตรหลาน จะจัดการศึกษาแบบที่เหมาะสมกับลูกๆของตนเอง จนเกิดความเข้าใจเรื่องการศึกษาทางเลือกมากขึ้นและเริ่มมีการปฏิรูปการศึกษา ปัจจุบันมีองค์กรที่ทำเกี่ยวกับการศึกษาแบบบ้านเรียนคือสมาคมบ้านเรียนไทย
รายการทุ่งแสงตะวัน บันทึกเรื่องราวการจัดการศึกษาทางเลือกโดยครอบครัวมาตั้งแต่ยุคแรกๆ จึงมีโอกาสเห็นเด็กบ้านเรียนค่อยๆเติบโตและเลือกทางชีวิตที่ใช่ที่ชอบ คนแล้วคนเล่า
“ฟาง” สานต่อ เฉลิมชัย เรียนแบบบ้านเรียนเมื่อ25ปีที่แล้ว และเข้าสู่การศึกษาในระบบ ระดับมัธยมศึกษาปีที่4 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล (ในยุคนั้นก็ถือว่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเด็กที่เลือกเรียนดนตรีตั้งแต่ยังอยู่ระดับมัธยมศึกษา) ฟาง เป็นเด็กชายเล็กๆที่เติบโตมาในครอบครัวบ้านเรียนโฮมสคูล ที่คุณพ่อคุณแม่เปิดโอกาสให้ได้ค้นพบตัวเอง เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบและสนใจ
ฟางเคยให้สัมภาษณ์ว่า พ่ออยากให้เป็นพื้นฐาน3อย่าง ว่ายน้ำ ใช้ภาษาอังกฤษ และเล่นดนตรี
ฟางชอบเล่นกีตาร์ ตั้งแต่เด็ก จากการตั้งกฏการเรียนดนตรีขึ้นมาเองว่าจะเรียนวันละชั่วโมง กลายเป็นเล่นเพลินๆทุกครึ่งวันเช้า และชอบขึ้นเรื่อยๆ จนตัดสินใจเข้าสู่การการศึกษาอย่างเป็นระบบที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์นั่นเอง
เด็กวัยประมาณตัดภาพมาอีกครั้ง 20ปี ผ่านไป ฟางเรียนจบ มหาวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ของมหาวิทยาลัยดนตรีที่ดีที่สุดของประเทศจีน ไม่ได้พูดและคิดภาษาอังกฤษได้เท่านั้น ยังชำนาญภาษาจีนอีกด้วย!!
อยู่ที่เซี่ยงไฮ้ 4 ปี ประมือกับเพื่อนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอย่างเข้มข้น ฟางเล่าขำขำว่า ใหม่ๆปรับตัวมาก ฟื้นฐานเราเทียบกับเพื่อนก็หนักใจไม่น้อย แต่คบเพื่อนจีน เข้าใจเขามากขึ้น ตอนเรียนก็แข่งกัน แต่ความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนก็ไปได้ดี ทุกวันนี้ครอบครัวเฉลิมชัย จัดค่ายยาวเป็นเดือนๆ พานักเรียนไทยไปเรียนไปใช้ภาษาจีนทุกปี
วันนี้ ฟางและเพื่อนตั้งโรงเรียนดนตรีปางฝันมิวสิคสตูดิโอ ย่านหนองแขม กรุงเทพมหานคร เป็นสถาบันดนตรีที่เด็กๆรักชอบดนตรีได้เรียนดนตรีอย่างมีความสุข กีตาร์คลาสสิค เปียโน ไวโอลิน ร้องเพลง เต้นรำ มีเด็กๆและผู้ปกครองให้ความสนใจเพราะครูมีฝีมือและสอนอย่างตั้งใจ
จะไม่ให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ในเมื่อ ครูฟางบอกว่า ตอนผมเป็นนี้ ครูที่สอนดนตรี ทำให้ผมเล่นดนตรีอย่างมีความสุข
คนเราเคยได้รับสิ่งใดที่ดี ย่อมอยากให้สิ่งนั้นต่อผู้อื่นเพราะรู้คุณค่า
หลายเหตุการณ์ที่เข้ามาในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโอกาสที่พ่อถามว่า “มาเรียนกับพ่อมั้ย” ฟางก็ตอบว่า “ดีเหมือนกัน” ได้จับกีตาร์ตัวแรก ได้เรียนกับครูดีๆ ได้เรียนในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้ทุนไปเรียนภาษาเรียนดนตรีเมืองจีน ได้ทำโรงเรียนสอนดนตรี และอื่นๆ
ฟางกล่าวสั้นๆเพียงว่า “เมื่อมีโอกาสก็คว้า โอกาสมาก็ลองครับ”
นี่ย่อมเป็นผลมาจากเปิดหัวใจพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
เด็กชายบุคลิกกวนๆที่เคยสัมภาษณ์พี่นกนิรมล เพื่อทำหนังสือของเด็กบ้านเรียน เคยออกรายการทุ่งแสงตะวันในวันวาน
20 ปีผ่านไปพี่นกนิรมลกลับมาคุยกับฟางอีกครั้งในยามที่เติบโต