เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ”
สุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดของภาคใต้ มีหมู่เกาะที่มีชื่อเสียงเรียงรายท่ามกลางทะเลอ่าวไทยจนกลายเป็นเกาะในฝัน สวรรค์ของคนรักทะเลทั้งชาวไทย และต่างชาติ อย่างเช่นเกาะสมุยเกาะพะงัน เกาะเต่า และเกาะนางยวน
ตั้งแต่ผมเล็กๆ ก็เห็นคนในชุมชนทำข้าวต้มน้ำวุ้นครับ ชวดของผมก็ทำ หลายๆ คนอาจจะรู้จักข้าวต้มน้ำวุ้น แล้วคิดว่าทำง่าย แต่ถ้ามาทดลองทำจะรู้ว่ามันห่อยาก และต้องใช้ฝีมือในการห่อมากๆ เลยครับ”น้องจัมพ์พันธกวิน เกตุแก้วเจริญเด็กชายชั้นป.6 ฉายแววตาเปี่ยมสุข เมื่อได้บอกเล่าความทรงจำเกี่ยวกับขนมขึ้นชื่อในชุมชน
ข้าวต้มน้ำวุ้นของหวานทำจากข้าวเหนียวห่อใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดพอดีคำ นำไปต้มสุก แล้วแกะออก รับประทานคู่กับน้ำเชื่อมโปะด้วยน้ำแข็งป่นรสชาติหวานหอมชื่นใจ อาจจะใส่ขนุน หรือทับทิบกรอบด้วยก็ได้เพื่อเพิ่มความอร่อย
“ถ้าใครเข้ามาที่ชุมชนวัดสามพระยา ก็จะเห็นย่ายายรวมกลุ่มห่อข้าวต้มน้ำวุ้นครับ อาจจะน้อยลงกว่าสมัยก่อน แต่ก็ยังทำกันอยู่หลายบ้าน ที่นี่ก็จะมีของดีหลายอย่าง เช่นในชุมชนก็จะมีข้าวต้มน้ำวุ้นเป็นของอร่อยขึ้นชื่อ ส่วนในวัดสามพระยาวรวิหารก็จะมีหลวงพ่อพระพุทธเกสร พระนั่ง พระนอน และพระอุโบสถที่สวยงามครับ”
ชุนชนวัดสามพระยา หนึ่งใน 7 ชุมชนเก่าแก่ของย่านบางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดสามพระยาชุมชนวัดสังเวช ชุมชนวัดใหม่อมตรส ชุมชนบ้านพานถม ชุมชนบวรรังสี ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ และชุมชนเขียนนิวาสน์ – ตรอกไก่แจ้ มีวัดวาอาราม สถานที่สำคัญ เรื่องราวอารยธรรมประวัติศาสตร์ ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ตั้งรกรากกันมาตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นแหล่งค้าขายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ต้นทุนดีๆ หลายเรื่องในชุมชนก็เริ่มจางหาย ด้วยความเจริญของเมืองท่องเที่ยวที่รุกหน้าเข้ามา ทำให้วิถีชีวิตผู้คนในย่านบางลำพูนั้นเปลี่ยนไป จากอาชีพดั้งเดิม ของรุ่นปู่ย่า จากบ้านเรือนไม้ อาคารเก่า ก็ถูกปรับเปลี่ยนแปลงโฉมเป็นเกสเฮ้าส์ เป็นร้านอาหารต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย
คนเก่าแก่ย่านบางลำพูจึงรวมกลุ่มในนาม “ประชาคมบางลําพู” ฟื้นฟู ยืนหยัด รักษาวิถีวัฒนธรรมอนุรักษ์สิ่งที่มีค่าของชุมชนไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา เกิดเป็น“ชมรมเกสรลำพู” ของเด็กๆ รุ่นลูกหลาน ดำเนินต่อเนื่องเข้าปีที่ 17 รวมตัวศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์ชุมชน ทำกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมประเพณี มีการจัดกิจกรรมทุกวันสำคัญ
จากผู้ศึกษา ค้นคว้า วันนี้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวให้ผู้อื่นได้รับรู้ และรู้จักของดีของชุมชนตนเอง ในชื่อ “ไกด์เด็กบางลำพู”
“ไกด์เด็กบางลำพูมีสมาชิกประมาณ 30 กว่าคนครับ ตั้งแต่น้องเล็กชั้นอนุบาลไปจนถึงพี่โตชั้นมหาวิทยาลัยจากทั้ง 7 ชุมชนในย่านบางลำพู แต่ละคนก็จะไปหา ศึกษาประวัติของบ้านตัวเอง พูดคุยกับผู้ใหญ่ในชุมชน แล้วก็จะมาบอกเล่าสู่กันฟังครับ”
ทุกวันหยุด วันว่าง เด็กๆ มักจะมารวมกลุ่มกันที่ พิพิธบางลำพู อาคารสีนวล ริมถนนพระอาทิตย์ เยื้องป้อมพระสุเมรุ แต่เดิมเคยเป็นอาคารโรงพิมพ์คุรุสภา (โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช) ถูกทิ้งร้าง และมีแผนจะถูกรื้อทิ้งโดยกรมธนารักษ์ ประชาคมบางลำพูจึงคัดค้านและขอให้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกับกรมศิลปากร ได้ยุติโครงการรื้ออาคาร เปลี่ยนเป็นวางแผนเปลี่ยนอาคารเพื่อสร้างประโยชน์ให้ชุมชนและสังคม จึงเกิดเป็นพิพิธบางลำพูที่ได้รวบรวมเรื่องราวของชาวบางลำพูและเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของรุ่นลูกหลาน
เด็กหญิงยูนิคภัทรวดี ภักดีกุลาสมาชิกไกด์เด็กบางลำพูตัวน้อยชั้นประถม 4 จากชุมชนวัดสังเวชเล่าว่า“แต่ก่อนหนูเองก็ไม่รู้ว่าในชุมชนของเรามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง พอได้มาเป็นไกด์ก็ได้รู้จักชุมชนตัวเอง และชุมชนของเพื่อนๆ มากขึ้นค่ะ สนุกตรงที่ได้มาเจอเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกันค่ะ”
สำหรับเด็กๆในชุมชน สิ่งเหล่านี้คือวิชาชีวิต มีคนในครอบครัว ผู้ใหญ่ในชุมชนเป็นครู เรียนรู้ รู้จักภูมิปัญญาแต่เก่าก่อน และพร้อมถ่ายทอดให้กับคนอื่นๆ ได้รับรู้
“อยากให้นักท่องเที่ยว ได้มารู้จักวิถีชีวิตของคนย่านบางลำพูชุมชนของเรายังมีสถานที่น่าเที่ยว และมีเสน่ห์ทุกที่เลยครับ จัมพ์กล่าวทิ้งท้าย
เพียงแค่กิจกรรมเล็กๆ นี้ก็สามารถเชื่อมโยงสู่การช่วยกันอนุรักษ์ไว้ซึ่งคุณค่า นอกจากได้ความรู้ ความเข้าใจบ้านของตนเองแล้ว ยังช่วยเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ เด็กๆจึงมีความสุข และภูมิใจทุกครั้งที่ได้มีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ในฐานะลูกหลานคนบางลำพู