สื่อในพิพิธภัณฑ์ทำเองได้

ในยุคเริ่มต้น ชื่อของพิพิธภัณฑ์เล่นได้ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย สร้างความสงสัยชวนให้ใครๆอยากมาเยือน และพิสูจน์ความเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ “เล่นได้” ยี่สิบปีผ่านมาถึงยุคนี้พิพิธภัณฑ์เล่นได้เป็นที่รู้จักไปทั่ว ขยับมาเป็นโรงเล่น กว้างขวาง อิสระ เด็กๆจะสนุกกับการเล่นและของเล่นบรรดามี เรียนรู้จากการเล่น ฝึกทักษะหลายๆด้านจากการเล่นลงมือปฏิบัติเมื่อมาที่นี่

ระหว่างที่ศึกษาเรื่องราวในโลกดึกดำบรรพ์ ค้นหาคำตอบที่คาใจตั้งแต่วัยเด็ก อีกความฝันหนึ่งก็เริ่มฉายภาพชัดและมีอิทธิพลต่อเธอมากขึ้นทุกวันทุกวัน  ทำให้เกิดหารทบทวนตัวเองครั้งใหญ่  จากบัณฑิตด้านบรรพชีวิน กล้วยไม้ให้โอกาสความฝันอีกด้าน ด้วยการใช้เวลาเรียนด้านแอนิเมชั่นอย่างจริงจัง และวันนี้เธอตัดสินใจใช้ชีวิตทำงานในฐานะแอนิเมเตอร์ของบริษัทระดับโลก ด้วยความสุข

010
09
07

แรกเริ่มเดิมทีที่ชวนชุมชนทำพิพิธภัณฑ์เล่นได้ คุณวีรวัฒน์ กังวานนวกุล ผู้ประสานงานและดูแลกล่าวว่า “เราไม่ได้ชวนชุมชนทำพิพิธภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว ไม่ได้ทำเพื่อคนอื่น แต่ทำให้กับชุมชน คนอื่นเข้ามาเป็นผลพลอยได้ แต่ 5 ปีหลังมานี้ร้อยละ 90 ของคนที่เข้ามาเป็นคนต่างถิ่น” ไม่เพียงเท่านั้น โรงเล่นยังผลิตสื่อและของเล่นที่พร้อมจะสัญจรไปทั่วทุกที่

คุณวีรวัฒน์ กังวานนวกุล แห่งโรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้ เชียงราย ยังกล่าวด้วยว่า “จุดเริ่มต้นของการผลิตของเล่นของเราคือสองมือและความตั้งใจ ถ้าเรารออุปกรณ์พร้อม วันนี้คงไม่เกิดของเล่น ไม่มีคำว่าพร้อม มีแค่ว่าเราจะเริ่มทำหรือเปล่า”

06
05
02

ของเล่นและสื่อต่างๆในพิพิธภัณฑ์เล่นได้ เกิดจากการลงมือทำ ทั้งจากคนเฒ่าคนแก่ และคนรุ่นใหม่ หนึ่งในนั้นคือ แปลนและปูน รามิลและนาฬา กังวานนวกุล ลูกชายของคุณวีรวัฒน์ กังวานนวกุล เด็กชายทั้งสองเติบโตท่ามกลางการเล่นและของเล่น เรียนรู้จากการเล่น และลงมือทำ จนวันหนึ่งหยิบจับของเล่นรูปแบบเดิมมาต่อยอด สร้างสรรค์การเรียนรู้ใหม่เพิ่มขึ้นในพิพิธภัณฑ์เล่นได้อีกหลายอย่าง ของเก่าก็ยังอยู่ ที่เพิ่มเติมคือน่าสนใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม
จากเด็กชายเล็กๆ แปลน รามิล กังวานนวกุล โตเป็นหนุ่ม อายุ 16 ปี เริ่มผลิตสื่อในพิพิธภัณฑ์โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในขณะที่ปูน นาฬา กังวานนวกุล อายุ 11 ปี สร้างชิ้นงานตามความสนใจและความถนัดของตัวเอง ปูนถนัดงานฝีมือ เย็บ ปัก ถัก ทอ  ก็คิดทำของเล่นสร้างจินตนาการไม่รู้จบ เช่น ชุดฟาร์มที่สร้างไว้ถึง 9 แบบ เป็นการเล่นที่ฝึกการวางแผนสร้างรูปแบบฟาร์มของตัวเอง ไม่ต่างจากที่ผู้ใหญ่วางแผนเมื่อเริ่มลงมือทำการเกษตรบนพื้นที่ตัวเองอย่างเป็นขั้นตอน

ปูน เล่าว่า “ไปเห็นฟาร์มของลุง ก็เลยอยากทำฟาร์มของตัวเองบ้าง ฟาร์มทั้ง 9 ถ้าเอามาต่อกันก็จะเป็นฟาร์มใหญ่ มีบึงน้ำ แปลงผัก สัตว์เลี้ยงต่างๆ มีหญ้า มีอาหารสัตว์” ส่วนจะต่อกันแบบ อยากจะให้อะไรอยู่ตรงไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะออกแบบฟาร์มของตัวเองอย่างไร

ส่วนพี่แปลน พี่ชายของปูน หยิบจับความรู้ทางเทคโนโลยีที่ตัวเองสนใจมาสร้างสรรค์งานชิ้นใหม่ เรียกว่า “โฮโลแกรม” สื่อ 3 มิติ ทำให้กับพิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย และที่พิพิธภัณฑ์เล่นได้ โรงเล่น เชียงราย

สื่อในพิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์โดยเด็ก มีพ่อแม่เป็นดังโค้ช พอรักหรือชอบอะไรก็ได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ จึงสามารถพัฒนาออกมาเป็นชิ้นงานของตัวเองอย่างน่าชื่นชม คุณพ่อวีรวัฒน์ แปลน และปูน ได้รับเชิญจาก มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มาเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “สื่อในพิพิธภัณฑ์ทำเองได้” ที่เพิ่งผ่านไปเร็วๆนี้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจสร้างสื่อในพิพิธภัณฑ์ด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี

ติดตามความคิดสร้างสรรค์ ร่วมชื่นชมสื่อฝีมือเด็ก ผลงานการสร้างสื่อในพิพิธภัณฑ์เล่นได้ของแปลนและปูน ในรายการทุ่งแสงตะวัน ตอน ปู่นปู๊น @ มิวเซียมสยาม เสาร์ที่ 13 ตุลาคมนี้ ช่อง 3 และช่อง 33 เวลา 6.25 น.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *